บทที่ 4
เรื่อง กฎหมายและจริยธรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
สังคมสารสนเทศเป็นสังคมใหม่
เพื่อให้การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมเป็นไปโดยสันติและสงบสุข เอื้อ ประโยชน์ซึ่งกันและกัน
จึงต้องมีกฎเกณฑ์ที่มากำหนดควบคุมเพื่อให้สังคมดังกล่าวให้มีความสงบเรียบร้อย ในปัจจุบันเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาท
ในชีวิตประจำวัน มีการใช้คอมพิวเตอร์และ ระบบสื่อสารกันมาก
ขณะเดียวกันก็มีผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ไม่ถูก ไม่ควร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมี
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้บังคับควบคุมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และเมื่อมีกฎหมายออกมาบังคับใช้ แล้ว
ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะปฏิเสธว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ มีกฎหมายใดที่ประกาศใช้แล้วและมีผลบังคับใช้
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
Law) หรือมักเรียกกันว่า กฎหมายไอที (IT Law) เสนอโดย
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม
และเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National Information
Technology Committee) หรือที่เรียกโดยย่อว่า
คณะกรรมการไอทีแห่งชาติ หรือ กทสช. (NITC) ท าหน้าที่เป็นศูนย์กลางและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง
ๆ ดำเนินการจัดทำกฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้คณะกรรมการไอทีแห่งชาติหรือ กทสช. (NITC) ได้ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ
เพื่อยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ โดยมอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยี
อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer
Technology Center) หรือที่ มักเรียกโดยย่อว่า "เนคเทค" (NECTEC)
ส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National
Science 2 88510159 ก้าวทันสังคมดิจิทัลด้วยไอซีทีMoving
Forward in a Digital Society with ICT and Technology Development Agency) หรือที่เรียกโดยย่อว่า "สวทช." กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ ท
าหน้าที่เป็นเลขานุการในการยกร่าง กฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ
เนคเทคจึงได้เริ่มต้นโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น เพื่อปฏิบัติตาม นโยบายที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ
ในการยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ ให้ แล้วเสร็จ คือ
1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Transactions Law) เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอข้อมูลที่ทำในกระดาษ
อันเป็นการรองรับ นิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้น
ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
และการรับฟัง พยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Signatures Law) เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด
ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือ ชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
และกำหนดให้มีการกำกับดูแล การให้บริการ
เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น
ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง
และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure Law) เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่โครงข่าย โทรคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ
อัน เป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ
ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการ หนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 78
(3) ใน การกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้าของสังคม
อย่างค่อยเป็นค่อยไป
เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และ น
าไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้
4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
(Data Protection Law) เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิ
และให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอาจถูกประมวลผลเปิดเผยหรือ เผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี
จนอาจก่อให้เกิดการน า ข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล
ทั้งนี้โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้น พื้นฐานในความเป็นส่วนตัว
เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ บทที่ 11 กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
3
5. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(Computer Crime Law) เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญา ในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการท
างานของคอมพิวเตอร์ระบบ ข้อมูล และระบบเครือข่าย
ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
6. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Funds Transfer Law) เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งที่เป็นการโอน เงินระหว่างสถาบันการเงิน และ ระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่น
ต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น ต่อมาคณะกรรมการกฤษฎีกาได้นำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และร่าง
พระราชบัญญัติลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รวมเป็นฉบับเดียว
โดยได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้รัฐสภา พิจารณาและตราเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ.2544 ดังนั้นกฎหมายเทคโนโลยี สารสนเทศของไทยในปัจจุบันจึงมีทั้งสิ้น
5 ฉบับ ได้แก่
1. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2544
2. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
พ.ศ...
3. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วย
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ…
4. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2550
5. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ....
จะเห็นได้ว่ากฎหมายดังที่กล่าวมาข้างต้นทั้ง
5
ฉบับ มี 3 ฉบับที่เป็นร่างของกฎหมายซึ่งยังคงอยู่ใน
ขั้นตอนการพิจารณาออกบังคับใช้
จึงควรพิจารณาแต่เฉพาะกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2544 และ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2550
คุณธรรมจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
ในทางปฏิบัติแล้ว
การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้
ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น
กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น
ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม
เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ เช่น
การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตการใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตการละเมิดลิขสิทธิ์
โดยทั่วไป
เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว
จะกล่าวถึงใน 4ประเด็น
ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
3 ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
3 ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง
สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง
และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น
สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล
และองค์การต่างๆปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
1.การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์
รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
2.การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น
บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน
ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ
แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว
ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
3.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
4.การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต
และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ
จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น
หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น
คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้
ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย
ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล
โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่
เช่น ในกรณีที่องค์การให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง
หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ อีกประเด็นหนึ่ง คือ
จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ
และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาด
ดังนั้น ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น
ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล
รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้
ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ เช่น
ผู้สอนสามารถดูคะแนนของนักศึกษาในความรับผิดชอบ
หรือที่สอนเพื่อตรวจสอบว่าคะแนนที่ป้อนไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง
3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน
ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์
หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์
เทป ซีดีรอม เป็นต้น
ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์
นั่นหมายความว่าท่านได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น
สำหรับท่านเองหลังจากที่ท่านเปิดกล่องหรือบรรจุภัณฑ์แล้ว
หมายถึงว่าท่านได้ยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในการใช้สินค้านั้น
ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท
บางโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงครั้งเดียว
หรือไม่อนุญาตให้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ
ท่านเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้อื่นใช้ก็ตาม
ในขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้ใช้โปรแกรมนั้นได้หลายๆ เครื่อง
ตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา
การคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น
เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธ์ในระดับใด
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม
หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้
เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ
กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล
ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น
ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้
และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น
ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว
ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ
หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว
การผิดจริยธรรมตามประเด็นดังที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น
ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) คืออะไร
ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง
ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์
ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ
โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก
ทรัพย์สินทางปัญญาอาจแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ
หรือในรูปของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ
กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น
ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
โดยทั่วๆ ไป คนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคำว่า “ลิขสิทธิ์”
และจะใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยที่ถูกต้องแล้ว
ในทางสากลทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) และลิขสิทธิ์
(Copyright)
1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)
หมายถึง
ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ
ความคิดสร้างสรรค์นี้ อาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น
ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า
รวมถึงแหล่งกำเนิดและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมจึงสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
- สิทธิบัตร (Patent)
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์
- อนุสิทธิบัตร
- สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์
- อนุสิทธิบัตร
- สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
- แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout –
Design of Integrated Circuits)
- เครื่องหมายการค้า (Trademark)
- ความลับทางการค้า (Trade Secret)
- สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications)
- เครื่องหมายการค้า (Trademark)
- ความลับทางการค้า (Trade Secret)
- สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications)
2. ลิขสิทธิ์ (Copyright)
หมายถึง
สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใดๆ
เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ไดทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง
งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใดๆ
นอกจากนั้นกฎหมายลิขสิทธิ์ยังให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดงด้วย
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่ครอบคลุมถึงความคิดหรือขั้นตอน
กรรมวิธีหรือระบบหรือวิธีใช้หรือวิธีทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ
หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์
ข้อปฏิบัติตนที่ถูกต้องในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(Information and Communication Technologies: ICT) คือ
เทคโนโลยีสองด้านหลักๆ ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ
สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว
ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ
และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น